พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
่ตะกรุดหนังเสือ...
่ตะกรุดหนังเสือหลวงพ่อนอ กลางท่าเรือ 1
"ตะกรุดข้า 500 ทุกดอก ถ้ายิงออกไม่ต้องเอาไป"
อมตะวาจาหลวงพ่อนอ

ตะกรุดหนังเสือหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ ใบเซอร์สมาคม

ขนาด 5 นิ้ว แกนทองแดง ยุคต้น สวยเดิม ลงรักจีน ทาทองบอน

เบญจภาคีตะกรุดหน้าผากเสือของเมืองไทย ดังนี้

1.หลวงปู่นาค วัดอรุณ ธนบุรี

2.หลวงปู่บุญ กลางบางแก้ว นครปฐม

3.หลวงพ่อหว่าง เทียนถวาย ปทุมธานี

4.หลวงพ่อนอ กลางท่าเรือ อยุธยา

5.หลวงพ่อเต๋ สามง่าม นครปฐม


หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา


ประวัติหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ ท่านชาตะ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2435 ณ บ้าน ต.ศาลาลอย อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดาตั้งนามว่า “นอ” อายุ 7 ขวบ ได้เข้าเล่าเรียนอักขระสมัยกับพระสวยที่เป็นหลวงลุงที่วัดกษัตราธิราช และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่นั่น อายุครบบวชจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศาลาลอย

ได้เล่าเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์นาคและพระอาจารย์วงษ์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมแก่กล้า เป็นที่นับถือในหมู่คนทั่วไป โดยพระอาจารย์วงษ์เก่งทางด้านคงกระพัน พระอาจารย์นาคเก่งทางด้านมหาอุด โดยได้ศึกษามาจากสำนักวัดประดู่ทรงธรรมพระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อนอ ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางท่าเรือเพราะญาติโยม ที่เคยเห็นสรรพคุณของท่านมาก่อนได้นิมนต์มาช่วยสร้างวัด เพราะตอนนั้นวัดกลางท่าเรือเป็นวัดที่แทบจะเป็นวัดร้าง หลวงพ่อนอจึงได้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวกับกรรมการวัดว่า “ไม่เป็นไรหรอก เมื่อไว้ใจให้ฉันมาช่วยสร้างวัด คอยดูนะฉันจะจารตะกรุดสร้างวัดให้พวกแกดู” การนั้นก็เป็นความจริงในกาลต่อมา โดยที่หลวงพ่อนอท่านลงตะกรุดโทน ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตามตำรับวิชาการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือจากท่านอาจารย์ที่ประสิทธ์ประสาทวิชานี้ให้กับท่านคือ พระพิมลธรรม (หลวงปู่นาค) แห่งวัดอรุณฯ เจ้าของสมญานามตะกรุดหนังหน้าผากเสืออันดับ๑ ของเมืองไทย

และเพื่อให้ของที่ท่านทำเองมีเอกลักษณ์ มีความแตกต่างจากของอาจารย์ท่านที่พันเชือกมันเป็น 3 ปล้องโดยถักเชือกหุ้มหัวท้ายตะกรุด เท่าที่พบส่วนมากจะถักลายกระสอบเกลียวละเอียด หรือเกลียวห่าง และลายจระเข้ขบฟันก็มีเช่นกัน แกนกลางเป็นตะกรุดเนื้อโลหะ เช่น ตะกั่ว ทองแดง ฝาบาตร เพื่อความแข้งแรงทนทาน

(ดังเช่น ตะกรุดหลวงพ่อพิธที่มีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลางของตะกรุด) แล้วจึงม้วนเข้าหนังหน้าผากเสือ พร้อมทั้งร้อยไหม ๙ สี (แค่ไหมของท่านอย่างเดียวก็ประสบการณ์เหลือล้นแล้วครับ จากคำบอกเล่าของคุณบุญรอด น้อยดี ร้านแดนไทย ปรมาจารย์พระเครื่องเมืองละโว้ เมื่อพูดถึงเรื่อง ของหลวงพ่อนอแล้วเขามักจะพูดให้ฟังว่า ... “โอ้!! ของหลวงพ่อนอนะหรือ ใช้กันเฉพาะเชือกไหม ๙ สีของท่านก็ยอดแล้ว ใช้ได้หลายอย่างไม่ต้องพูดกันละ และเขาก็มีเชือกไหม ๙ สี ของหลวงพ่อนอคาดเอวอยู่ตลอดเวลา”)

แล้วขมวดหัวเป็นบ่วงสำหรับคาดเอวได้ นับว่าเป็นการผสมผสานต่อยอดวิชาการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ และวิชาลงตะกรุดโทนเนื้อโลหะของท่านรวมกันในดอกเดียว

วัตถุประสงค์ท่านกระทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ตั้งใจทำอย่างเต็มที่เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างโบสถ์และเสนาสนะซึ่งปีหนึ่งๆทำพิธีใหญ่โต ทำได้ครั้งละไม่มากนัก เนื่องจากวัสดุหายาก คือหนังหน้าผากเสือ (โดยมากต้องสั่งจองกันยาวเป็นบัญชีหางว่าวไปเลย ผู้ได้รับไปแล้วนับว่าโชคดีเป็นอย่างยิ่ง ตะกรุดมีค่าควรเมือง ตีราคาเป็นตำลึงทอง มีค่ามากว่าเงิน 500 มากนักหนา) ปรากฏว่าตะกรุดของท่านท้ายิงได้ทุกดอก ยิงออกไม่ต้องเอาเงินมาทำบุญ ราคาทำบุญจากวัด 500 บาท (ประมาณปี 2495 – 2500) ถือว่าแพงมากในสมัยนั้น ซึ่งเทียบกับราคาทองสมันนั้นบาทละไม่เกิน 300 บาท

และที่สำคัญมีการลองยิงในวัดที่เดียว จึงเป็นประสบการณ์ที่โด่งดังไปทั่วเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ถึงของดีจริง มีค่ามากกว่าทองสามารถคุ้มครองป้องกันภัยได้จริง
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือเครื่องรางยุคเก่าจัดลำดับให้หนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนออยู่ในลำดับยอดนิยมอันดับ ๕ ครับ แต่ปัจจุบันหนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนออยู่ในความนิยมอันดับที่ 4 ครับ ตามลำดับดังนี้ -หลวงปู่นาค - หลวงปู่บุญ –หลวงพ่อหว่าง – หลวงพ่อนอ – หลวงพ่อเต๋


เกร็ดประวัติที่มาของตะกรุดหน้าผากเสือ
รุ่นทูลเกล้า กล่าวคือ


หลวงพ่อนอท่านได้เมตตาลงตะกรุดหนังหน้าผากเสือถวายพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2495 (จากบันทึกของสำนักราชเรขาธิการ ลงวันที่ถวาย 10 สิงหาคม 2495 และพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดไตรครองนำมาถวายหลวงพ่อนอ 1 ชุด ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2496)

แต่เดิมนั้นหลวงพ่อนอท่านสร้างจะใช้แต่หนังเสือเพียงอย่างเดียวมาทำการปลุกเสก เมื่อเสร็จก็ทำการแจกจ่ายให้ชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ในละแวกนั้นนำไปใช้พกติดตัวทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ตะกรุดโดนเหงื่อเสียรูปทรงง่าย หลวงพ่อคงทราบจากชาวบ้านหรือลูกศิษย์จึงคิดพัฒนาโดยการนำไม้ไผ่มาเหลาไว้เพื่อใช้เป็นแกนกลางก่อนที่จะนำหนังเสือมาพันไว้รอบแกนไม้ไผ่อีกที จากนั้นจึงนำมาถักเชือกลงรัก ซึ่งต่อมายุคหลังๆ แกนกลางจะใช้เป็นโลหะ

การสร้างตะกรุดต่างๆ มีการนำวัตถุหลายๆ อย่าง หลายประเภทมาสร้าง หนังเสือก็เป็นส่วนหนึ่งเพราะเป็นอาถรรพณ์วัตถุศักดิ์สิทธิ์ในตัว มีทั้งเมตตามหานิยม พลังมหาอำนาจ และแคล้วคลาด

ขั้นตอนในการบรรจุวิทยาคมของหลวงพ่อนอ
ซึ่งขั้นตอนในการปลุกเสกไม่มีอาจารย์ท่านใดเหมือนแน่นอน ก่อนปลุกเสกท่านจะใช้เหล้าเพื่อบูชาครู จากนั้นตัวของท่านจะแดงมาก ท่านจะปิดกุฎิปลุกเสกเงียบๆ คนเดียวอยู่ในกุฎิ

ช่วงเวลาปลุกเสกลูกศิษย์จะได้กลิ่นสาปเสืออบอวลทั่วทั้งบริเวณตลอดจนเป็นเรื่องเล่าขานสือต่อมาไม่รู้จบของพิธีกรรมปลุกเสกที่เข้มขลังในยุคนั้น ตะกรุดหนังหน้าผากเสือเป็นเครื่องรางที่มองดูผิวเผินก็ดูจะธรรมดาๆ แต่จริงๆ แล้วทุกท่านก็คงประจักษ์กันมานักต่อนักแล้ว

แม้นจะเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อหรือประสบการณ์กับตนเองในเรื่องของพุทธคุณไม่เป็นรองวัตถุมงคลใดๆ เลย โดยจะเห็นได้จากปัจจุบันตะกรุดหนังหน้าผากเสือสำนักนี้มีราคาค่างวดสูงมากยิ่งขึ้น แรงแซงทางโค้ง เนื่องจากเจตนาการสร้างดี พุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ มีเอกลักษณ์ชัดเจน เป็นมาตรฐาน และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในวงการเครื่องรางของขลังขณะนี้ครับ
ผู้เข้าชม
1731 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
หมอเมืองขอน
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
more-2212
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 686-2-41596-3

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Le29Amulettermboonชาวานิชชา วานิชอ.ต่ายpeemoney
โกหมูเจริญสุขพรคุณพระ99ชยันโตเปียโนponsrithong2
gorn9นรินทร์ ทัพไทยErawanหริด์ เก้าแสนaofkoloktrairat
tangmostp253LovazaMuthitajochoพีพีพระเครื่อง
เนินพระ99chathanumaanma_a_auโจ้ ลำนารายณ์ยอด วัดโพธิ์TotoTato

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1714 คน

เพิ่มข้อมูล

่ตะกรุดหนังเสือหลวงพ่อนอ กลางท่าเรือ 1




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
่ตะกรุดหนังเสือหลวงพ่อนอ กลางท่าเรือ 1
รายละเอียด
"ตะกรุดข้า 500 ทุกดอก ถ้ายิงออกไม่ต้องเอาไป"
อมตะวาจาหลวงพ่อนอ

ตะกรุดหนังเสือหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ ใบเซอร์สมาคม

ขนาด 5 นิ้ว แกนทองแดง ยุคต้น สวยเดิม ลงรักจีน ทาทองบอน

เบญจภาคีตะกรุดหน้าผากเสือของเมืองไทย ดังนี้

1.หลวงปู่นาค วัดอรุณ ธนบุรี

2.หลวงปู่บุญ กลางบางแก้ว นครปฐม

3.หลวงพ่อหว่าง เทียนถวาย ปทุมธานี

4.หลวงพ่อนอ กลางท่าเรือ อยุธยา

5.หลวงพ่อเต๋ สามง่าม นครปฐม


หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา


ประวัติหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ ท่านชาตะ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2435 ณ บ้าน ต.ศาลาลอย อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดาตั้งนามว่า “นอ” อายุ 7 ขวบ ได้เข้าเล่าเรียนอักขระสมัยกับพระสวยที่เป็นหลวงลุงที่วัดกษัตราธิราช และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่นั่น อายุครบบวชจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศาลาลอย

ได้เล่าเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์นาคและพระอาจารย์วงษ์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมแก่กล้า เป็นที่นับถือในหมู่คนทั่วไป โดยพระอาจารย์วงษ์เก่งทางด้านคงกระพัน พระอาจารย์นาคเก่งทางด้านมหาอุด โดยได้ศึกษามาจากสำนักวัดประดู่ทรงธรรมพระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อนอ ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางท่าเรือเพราะญาติโยม ที่เคยเห็นสรรพคุณของท่านมาก่อนได้นิมนต์มาช่วยสร้างวัด เพราะตอนนั้นวัดกลางท่าเรือเป็นวัดที่แทบจะเป็นวัดร้าง หลวงพ่อนอจึงได้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวกับกรรมการวัดว่า “ไม่เป็นไรหรอก เมื่อไว้ใจให้ฉันมาช่วยสร้างวัด คอยดูนะฉันจะจารตะกรุดสร้างวัดให้พวกแกดู” การนั้นก็เป็นความจริงในกาลต่อมา โดยที่หลวงพ่อนอท่านลงตะกรุดโทน ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตามตำรับวิชาการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือจากท่านอาจารย์ที่ประสิทธ์ประสาทวิชานี้ให้กับท่านคือ พระพิมลธรรม (หลวงปู่นาค) แห่งวัดอรุณฯ เจ้าของสมญานามตะกรุดหนังหน้าผากเสืออันดับ๑ ของเมืองไทย

และเพื่อให้ของที่ท่านทำเองมีเอกลักษณ์ มีความแตกต่างจากของอาจารย์ท่านที่พันเชือกมันเป็น 3 ปล้องโดยถักเชือกหุ้มหัวท้ายตะกรุด เท่าที่พบส่วนมากจะถักลายกระสอบเกลียวละเอียด หรือเกลียวห่าง และลายจระเข้ขบฟันก็มีเช่นกัน แกนกลางเป็นตะกรุดเนื้อโลหะ เช่น ตะกั่ว ทองแดง ฝาบาตร เพื่อความแข้งแรงทนทาน

(ดังเช่น ตะกรุดหลวงพ่อพิธที่มีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลางของตะกรุด) แล้วจึงม้วนเข้าหนังหน้าผากเสือ พร้อมทั้งร้อยไหม ๙ สี (แค่ไหมของท่านอย่างเดียวก็ประสบการณ์เหลือล้นแล้วครับ จากคำบอกเล่าของคุณบุญรอด น้อยดี ร้านแดนไทย ปรมาจารย์พระเครื่องเมืองละโว้ เมื่อพูดถึงเรื่อง ของหลวงพ่อนอแล้วเขามักจะพูดให้ฟังว่า ... “โอ้!! ของหลวงพ่อนอนะหรือ ใช้กันเฉพาะเชือกไหม ๙ สีของท่านก็ยอดแล้ว ใช้ได้หลายอย่างไม่ต้องพูดกันละ และเขาก็มีเชือกไหม ๙ สี ของหลวงพ่อนอคาดเอวอยู่ตลอดเวลา”)

แล้วขมวดหัวเป็นบ่วงสำหรับคาดเอวได้ นับว่าเป็นการผสมผสานต่อยอดวิชาการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ และวิชาลงตะกรุดโทนเนื้อโลหะของท่านรวมกันในดอกเดียว

วัตถุประสงค์ท่านกระทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ตั้งใจทำอย่างเต็มที่เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างโบสถ์และเสนาสนะซึ่งปีหนึ่งๆทำพิธีใหญ่โต ทำได้ครั้งละไม่มากนัก เนื่องจากวัสดุหายาก คือหนังหน้าผากเสือ (โดยมากต้องสั่งจองกันยาวเป็นบัญชีหางว่าวไปเลย ผู้ได้รับไปแล้วนับว่าโชคดีเป็นอย่างยิ่ง ตะกรุดมีค่าควรเมือง ตีราคาเป็นตำลึงทอง มีค่ามากว่าเงิน 500 มากนักหนา) ปรากฏว่าตะกรุดของท่านท้ายิงได้ทุกดอก ยิงออกไม่ต้องเอาเงินมาทำบุญ ราคาทำบุญจากวัด 500 บาท (ประมาณปี 2495 – 2500) ถือว่าแพงมากในสมัยนั้น ซึ่งเทียบกับราคาทองสมันนั้นบาทละไม่เกิน 300 บาท

และที่สำคัญมีการลองยิงในวัดที่เดียว จึงเป็นประสบการณ์ที่โด่งดังไปทั่วเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ถึงของดีจริง มีค่ามากกว่าทองสามารถคุ้มครองป้องกันภัยได้จริง
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือเครื่องรางยุคเก่าจัดลำดับให้หนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนออยู่ในลำดับยอดนิยมอันดับ ๕ ครับ แต่ปัจจุบันหนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนออยู่ในความนิยมอันดับที่ 4 ครับ ตามลำดับดังนี้ -หลวงปู่นาค - หลวงปู่บุญ –หลวงพ่อหว่าง – หลวงพ่อนอ – หลวงพ่อเต๋


เกร็ดประวัติที่มาของตะกรุดหน้าผากเสือ
รุ่นทูลเกล้า กล่าวคือ


หลวงพ่อนอท่านได้เมตตาลงตะกรุดหนังหน้าผากเสือถวายพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2495 (จากบันทึกของสำนักราชเรขาธิการ ลงวันที่ถวาย 10 สิงหาคม 2495 และพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดไตรครองนำมาถวายหลวงพ่อนอ 1 ชุด ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2496)

แต่เดิมนั้นหลวงพ่อนอท่านสร้างจะใช้แต่หนังเสือเพียงอย่างเดียวมาทำการปลุกเสก เมื่อเสร็จก็ทำการแจกจ่ายให้ชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ในละแวกนั้นนำไปใช้พกติดตัวทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ตะกรุดโดนเหงื่อเสียรูปทรงง่าย หลวงพ่อคงทราบจากชาวบ้านหรือลูกศิษย์จึงคิดพัฒนาโดยการนำไม้ไผ่มาเหลาไว้เพื่อใช้เป็นแกนกลางก่อนที่จะนำหนังเสือมาพันไว้รอบแกนไม้ไผ่อีกที จากนั้นจึงนำมาถักเชือกลงรัก ซึ่งต่อมายุคหลังๆ แกนกลางจะใช้เป็นโลหะ

การสร้างตะกรุดต่างๆ มีการนำวัตถุหลายๆ อย่าง หลายประเภทมาสร้าง หนังเสือก็เป็นส่วนหนึ่งเพราะเป็นอาถรรพณ์วัตถุศักดิ์สิทธิ์ในตัว มีทั้งเมตตามหานิยม พลังมหาอำนาจ และแคล้วคลาด

ขั้นตอนในการบรรจุวิทยาคมของหลวงพ่อนอ
ซึ่งขั้นตอนในการปลุกเสกไม่มีอาจารย์ท่านใดเหมือนแน่นอน ก่อนปลุกเสกท่านจะใช้เหล้าเพื่อบูชาครู จากนั้นตัวของท่านจะแดงมาก ท่านจะปิดกุฎิปลุกเสกเงียบๆ คนเดียวอยู่ในกุฎิ

ช่วงเวลาปลุกเสกลูกศิษย์จะได้กลิ่นสาปเสืออบอวลทั่วทั้งบริเวณตลอดจนเป็นเรื่องเล่าขานสือต่อมาไม่รู้จบของพิธีกรรมปลุกเสกที่เข้มขลังในยุคนั้น ตะกรุดหนังหน้าผากเสือเป็นเครื่องรางที่มองดูผิวเผินก็ดูจะธรรมดาๆ แต่จริงๆ แล้วทุกท่านก็คงประจักษ์กันมานักต่อนักแล้ว

แม้นจะเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อหรือประสบการณ์กับตนเองในเรื่องของพุทธคุณไม่เป็นรองวัตถุมงคลใดๆ เลย โดยจะเห็นได้จากปัจจุบันตะกรุดหนังหน้าผากเสือสำนักนี้มีราคาค่างวดสูงมากยิ่งขึ้น แรงแซงทางโค้ง เนื่องจากเจตนาการสร้างดี พุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ มีเอกลักษณ์ชัดเจน เป็นมาตรฐาน และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในวงการเครื่องรางของขลังขณะนี้ครับ
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
1732 ครั้ง
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
หมอเมืองขอน
URL
เบอร์โทรศัพท์
0909857494
ID LINE
more-2212
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 686-2-41596-3




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี